วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดี ที่  8  มีนาคม  พ.ศ. 2555

         
กิจกรรมในห้องเรียน

               อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงาน ส่วนคนที่ยังไม่เสร็จ อาจารย์ได้ให้เวลาทำงานในห้องเรียนให้เสร็จแล้วนำมาส่ง วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2555

สมุดภาพ Big Book


บันทึกการเรียน 15

วันพฤหัสบดี ที่  1  มีนาคม  พ.ศ.2555

กิจกรรมในห้องเรียน

      - อาจารย์พูดถึงการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
      - อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน เพื่อทำกิจกรรม และได้อธิบายวิธีการในการทำ
      - นำเสนองานที่ไปร่วมทำกับเด็กมา (ต่อ)

การบ้าน
       อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 คน พร้อมให้กระดาษ ในการนำไปทำงานและส่งในสัปดาห์ ถัดไป

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ทำในชั้นเรียน
        อาจารย์ให้นำเสนอผลงาน ที่ไปทำสมุดภาพกับเด็กๆ โดยให้เด็กๆ ช่วยกันตัดสมุดภาพในหัวข้อ "เธอชอบกินผักอะไร" 
ข้อเสนอแนะของอาจารย์
               1.หน้าแรก ผ่าน
               2.หน้าที่ 2 อาจารย์แนะนำว่าภาพกับคำควรจะตรงกัน
               3.ตัวหนังสือที่เขียนเล็กเกินไป
               4.คำว่าผักยังไม่ต้องใส่ควรให้เด็กได้เติมเอง
               5.เส้นควรจะยาวอีกเพราะตัวหนังสือเขียนไม่พอ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

          วันเสาร์ ที่ 18  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
           - อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แล้วเล่าเป็นเรื่องราวต่อกัน
           -อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แทนคำ 1 ประโยคอะไรก็ได้ แล้วให้เพื่อนทาย
           -พูดชื่อตัวเองแล้วทำท่า พยางค์ละ 1 ท่า  จากนั้นก็ทำท่าชื่อเพื่อนคนข้าง ๆ แล้วต่อด้วยทำท่าตัวเอง
           - ครูอธิบายว่า สิ่งที่เรารู้แล้วแสดงออกมาให้เพื่อนรู้ว่าเราเข้าใจ  *คือการเรียนรู้*
           - เรียนเรื่องรูปแบบของภาษา เสียงสระ เสียงพยัญชนะ




บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555
  • อาจารย์พูดถึงการแต่งกายให้ถูกระเบียบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • อาจารย์เปิดดู Blogger เพื่อดูความคืบหน้า และใครยังทำไม่ครบอาจารย์ก็จะแนะนำให้ทำให้ครบ
การบ้าน

      - อารจารย์สั่งให้ทำหนังสือนิทาน กลุ่มละ 4 คน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดี ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555
*ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันแข่งกีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย

 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555

* วันนี้ไม่ได้เข้าห้องเรียน เนื่องจากมาสายอาจารย์ปิดประตูเลยไม่ได้เข้าเรียน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดี ที่  26  มกราคม 2555

   1.  อาจารย์ให้ดูรูปที่เด็กวาดด้วยคอมพิวเตอร์ ว่ารูปนี้บอกอะไรกับเราบ้าง
  • การเขียนชื่อตัวเองได้
  • การวาดภาพเห็นถึงพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและตาว่ามีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว
  • เห็นถึงความต้องการของเด็ก เพื่อเชื่อมโยงกับความต้องการของเด็กปฐมวัย
  • เห็นถึงคำและภาษาที่เด็กใช้
  • เด็กสามารถเขียนหนังสือแบบมีหัวได้
  • อาจารย์เทคนิควิธีการให้เด็กรู้จักครับ/ค่ะโดยเอาเพลงเข้ามาสอดแทรกเพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้นไม่งงหรือสับสน
   2.  อาจารย์ให้ดูรูปเด็กอนุบาลที่กำลังสื่อสารกัน
  • วิธีที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันดีที่สุดคือการใช้ "ภาษาพูด"
  • พัฒนาการการใช้ภาษาพูดทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวได้ดี
  • เด็กแสดงออกถึงความต้องการ
  • เด็กแสดงออกถึงความรูกสึกและการเข้าใจผู้อื่น
  • เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูดมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
  • เด็กเข้าใจพื้นฐานไวยากรณ์ของภาษาแม่เมื่ออายุได้ 4-5 ปี
  • ครูจะต้องตระหนักถึงสิ่งที่จะสอนเด็กปฐมวัยเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ความเข้าใจถึงการใช้ภาษาที่ใพูดกับเด็กหรือใช้สอนเด็ก เพื่อที่เด็กจะนำไปใช้ต่อไปในอนาคต
  3.  บลูกับฮาร์เลย์ ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการ
  • ภาษาเป็นสัญลักณ์หรือรหัส "เด็กกินขนม"
  • ภาษาเป็นสัญลักณ์ของมโนมิติเกี่ยวกับโลก หรือประมวลประสบการณ์
  • ภาษาเป็นระบบกฏเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ มีคำเป็น ประธาน กริยา กรรม
สรุป ภาษา คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดแก่กันและกัน

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันอาทิตย์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2555

                   วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากดิฉันได้เดินทางไป เชียงใหม่เพื่อไปเที่ยวชมงานราชพฤกพืชสวนโลก ตั้งแต่วันที่ 19-22 มกราคม 2555 จึงไม่สามารถมาเรียนได้ทันเวลา แต่ได้รับข้อมูลงานจากเพื่อนว่า อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปสมัคร โทรทัศน์ครู

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดี ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2555

       วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม  แล้วนัดนักศึกษาให้มาเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 22  มกราคม  2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2555

       วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา Present Powerpoint เกี่ยวกับเรื่องที่ได้ไปเล่านิทานให้น้องฟังเป็นรายกลุ่ม โดยกลุ่ม ของดิฉันได้เล่านิทานเรื่อง

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

                 วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ ได้ให้นักศึกษา ไปทำงานเพาเวอร์พอยต์จากที่ได้ไปเล่านิทานให้น้องๆฟัง พร้อมมานำเสนอหน้าชั้นเรียนในอาทิตย์ถัดไป

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2554

      - อาจารย์ให้ส่งงาน และให้แต่ละคนเขียนภาษาถิ่นของตัวเองส่ง  (ภาษาใต้) อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะว่าอาจารย์ จะไปร่วมกิจกรรมงานปีใหม่ของน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม


         ภาษาถิ่นใต้
1.ขี้หก                   แปลว่า      โกหก
2.หัวครก                 แปลว่า      มะม่วงหิมพานต์
3.ยาหนัด,มะลิ           แปลว่า      สับปะรด
4.ข้องใจ                 แปลว่า      เป็นห่วง,คิดถึง
5.คง                     แปลว่า      ข้าวโพด
6.แขบ                   แปลว่า      รีบ
7.ตอเบา                 แปลว่า      ผักกระถิน
8.น้ำเต้า                 แปลว่า      ฟักทอง
9.ดีปลี,ลูกเผ็ด          แปลว่า       พริก
10.ลอกอ                แปลว่า      มะละกอ
11.พุงปลา               แปลว่า     ไตปลา
12.หยบ                  แปลว่า      แอบ,ซ่อน
13.หล่าว                 แปลว่า      อีกแล้ว
14.หรอย                 แปลว่า      อร่อย
15.แขว๊ก                 แปลว่า      แคะ
16.ชันชี                  แปลว่า      สัญญา
17.ขี้ชิด                  แปลว่า      ขี้เหนียว
18.หลบบ้าน             แปลว่า      กลับบ้าน
19.อยาก                แปลว่า       หิว
20.ตาล่อ,หาจก         แปลว่า       โลภมาก , อยากได้


เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 22  ธันวาคม 2554

             -วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษารายงาน งานที่มอบหมายหน้าชั้นเรียนพร้อมเปิดวีดีโอ
และอาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา
       - ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กสองภาษา ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมีความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจดังกล่าวนำไปสู่การจัดประสบการณ์ทางภาษาอย่างเหมาะสมสำหรับเด็ก ทั้งนี้ ครูที่จัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่ง และพูดภาษาไทยกลางเป็นภาษาที่สอง ควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาถิ่นและภาษาไทยกลางเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาถิ่น และภาษาไทยกลางจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วยตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และสถานการณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ครูและเด็กเรียนรู้และพัฒนาการใช้ภาษาของตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ


ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
     -ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก3ข้อและบันทึกมาส่งอาจารย์
      -ให้หาประวัตินักการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษาส่งสัปดาห์ถัดไป

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2554

              วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของ วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีสาระดังนี้
              การจัดประสบการณ์ คือ การจัดการเรียนการสอน โดยมีเวลาประมาณ 10-20 นาที/กิจกรรม ( กิจกรรมในที่นี้ใช้กับการจัดให้แก่เด็กปฐมวัย )
              เด็กปฐมวัยกับสิ่งที่ควรรู้
                   1.พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้น
      - ภาษา คือ การสื่อสารโดยผ่านกระบวนการ ฟัง พูด อ่าน เขียน แล้วสามารถเข้าใจกันและกันได้
      - การจัดประสบการณ์ทางภาษา คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องโดยแสดงออกผ่านทางพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน
             วิธีการเรียนรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  คือ
                 การสังเกต-ตา      การสัมผัส-มือ      การฟัง-หู      การดมกลิ่น-จมูก       การลิ้มรส-ลิ้น
และถ้าจะให้อิสระแก่เด็กต้องให้อิสะในการเลือก การตัดสินใจเอง และการลองผิดลองถูกโดยผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
             การจัดประสบการณ์สามรถกระทำได้หลายรูปแบบ
               - เทคนิค เช่น การเล่านิทาน การใช้เพลง การใช้เกม การใช้บทบาทสมมุติ เป็นต้น
               - สื่อ
               - รูปแบบ
               - หลักการ
               - ขั้นตอน
               - วิธีการ
               - การประเมิน เช่น การสังเกตุ การจดบันทึก เป็นต้น
          
             สมอง
                   สมองรับข้อมูลได้โดยการผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเกิดการเรียนรู้ใหม่เพื่อความอยู่รอดในสังคม และสามารถพัฒนาความรู้ทางด้านสติปัญญาได้
             การปรับตัวและพัฒนาการของสมอง  สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงอายุ
                   1.ช่วงอายุระหว่างแรกเกิด-2 ปี  ช่วงนี้เป็นช่วงวัยแห่งการรับรู้
                   2.ช่วงอายุระหว่าง 2-4 ปี ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งวัยที่เริ่มใช้ภาษา
                   3.ช่วงอายุระหว่าง 4-6 ปี ช่วงนี้เป็นช่วงวัยที่รู้จักการใช้คำพูด

ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
     - ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์เด็กพร้อมทั้งบันทึกวีดีโอ นำส่งในสัปดาห์ถัดไปพร้อมนำเสนองาน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2554

 

- วันนี้ไม่มีมีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
- สัปดาห์หน้าอาจารย์ให้เตรียมต้นดาวเรืองมากลุ่มละ1ต้น เพื่อนำมาจัดสวนในงานปีใหม่